มีสกิลการทำ CPR ติดตัวไว้ดียังไง

by admin
19 views
มีสกิลการทำ CPR ติดตัวไว้ดียังไง

การมีทักษะการทำ CPR เป็นทักษะที่จำเป็นที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉิน การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและการเตรียมตัวเองให้มีทักษะที่พร้อมในการทำ CPR อย่างถูกต้องจะช่วยเพิ่มความมั่นใจเมื่อพบเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง ดังนั้น การเตรียมตัวด้วยทักษะ CPR จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรให้ความสำคัญและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา อาจจะเป็นเรื่องที่ช่วยให้เราสามารถช่วยชีวิตของผู้อื่น และช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตได้ในชีวิตประจำวัน

CPR คืออะไร

CPR (Cardiopulmonary Resuscitation) คือกระบวนการช่วยชีวิตในกรณีที่ผู้ป่วยหมดสติและหยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น โดยใช้การกดทรวงอก (chest compressions) เพื่อสร้างการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย และการให้ลมหายใจ (rescue breaths) เพื่อเติมออกซิเจนให้กับปอดของผู้ป่วย

ทำไมเราต้องมีทักษะการทำ CPR

ทำไมเราต้องมีทักษะการทำ CPR

หลายๆคนคงรู้คำตอบอยู่แล้ว สาเหตุที่เราต้องเรียนการทำ CPR เพื่อช่วยชีวิตในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตัวเราบังเอิญพบผู้ประสบภัยที่ต้องการช่วยเหลือโดยด่วนจะได้เข้าช่วยเหลือได้ทันที ถึงแม้จะมีความรู้เกี่ยวในการทำ ซ๊พีอาร์ แต่มีคนอยู่น้อยมากที่มีความกล้าที่จะเข้าไปช่วยเหลือ เพราะส่วนใหญ่กลัวทำให้ผู้ประสบภัยบาดเจ็บหนักกว่าเดิม เราจึงใช้คำว่าทำไมต้องมี ” ทักษะ ” CPR ซึ่งแสดงการที่สามารถนำความสามารถไปใช้ได้จริง เหตุผลที่เราต้องมีทักษะการทำ CPR ดังนี้

  1. เพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต: ช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่หมดสติและหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น การทำ CPR ในระยะเร็วในช่วงเวลาที่ผู้ป่วยยังไม่ได้รับการช่วยเหลือทางการแพทย์อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้
  2. ลดความเสียหายของอวัยวะ: การทำ CPR ในขณะที่รอการช่วยเหลือทางการแพทย์ สามารถช่วยลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสมองและอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายของผู้ป่วย โดยการสร้างการไหลเวียนของเลือดเพื่อส่งออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้อวัยวะสำคัญยังสามารถทำงานได้ปกติ เพราะหากขาดออกซิเจนเป็นเวลานานเซลล์ของอวัยวะจะเริ่มตาย ถ้าหากมีเซลล์ที่ตายเป็นจำนวนมากทำให้อวัยวะส่วนนั้นไม่สามารทำงานได้
  3. สร้างความมั่นใจ: การทราบว่าเรามีทักษะในการทำ CPR ทำให้เรามีความมั่นใจและสามารถเข้ามาช่วยชีวิตในสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมั่นใจ ซึ่งอาจช่วยลดความกังวลและความตื่นตระหนกในกรณีของการเกิดเหตุฉุกเฉิน

ขั้นตอนการทำ CPR (หากไม่มีเครื่อง AED)

ขั้นตอนการทำ CPR หากไม่มีเครื่อง AED

  1. ตรวจสอบสภาพผู้ป่วย: ก่อนอื่นให้ตรวจสอบสถานการณ์ว่าปลอดภัยในการทำ CPR โดยตรวจสอบว่าไม่มีอันตรายใดๆ เช่น อันตรายจากไฟ รถเคลื่อนที่ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต จากนั้นตรวจสอบว่าผู้ป่วยติดสติหรือไม่ โดยการเรียกชื่อผู้ป่วยหรือสัมผัสเบาๆ และตรวจสอบการหายใจว่ามีการหายใจหรือไม่
  2. เรียกความช่วยเหลือ: หากผู้ป่วยหมดสติและไม่หายใจ ให้เรียกความช่วยเหลือให้มาโดยเร็วที่สุด โดยการเรียกร้องความช่วยเหลือผ่านเบอร์ 1669 ซึ่งมีรายละเอียดการแจ้ง คือ อาการผู้ป่วย เพศอะไรอายุประมาณเท่าไหร่ สถานที่เกิดเหตุ ผู้พบเหตุชื่ออะไร เบอร์ติดต่อกลับคือ และหากไม่มีเครื่อง AED ให้แจ้งเจ้าหน้าที่นำเครื่อง AED มาด้วย
  3. เปิดช่องทางหายใจ: วางผู้ป่วยบนพื้นหรือพื้นผิวที่แข็งแรง จากดันหน้าผากและดึงคางของผู้ป่วยขึ้น เพื่อให้เปิดทางเดินหายใจอย่างเต็มที่
  4. ปั๊มหัวใจ: วางสันมือข้างที่ถนัดตรงครึ่งล่างของกระดูกหน้าอกของผู้ป่วย และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ วางลักษณะแขนข้อศอกตั้งฉากกับทรวงอก และกดลงไปให้ลึกประมาณ 5-6 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100 – 120 ครั้งต่อนาที โดยให้รักษาการกดหน้าอกต่อเนื่องจนกว่าเจ้าหน้าที่จะมาถึง หรือผู้ป่วยกลับมาสติ
  5. ส่งต่อให้เข้าหน้าที่เมื่อมาถึง: เมื่อเจ้าหน้าที่มาถึง แต่ผู้ป่วยยังไม่มีสติ ให้ใช้เครื่อง AED จากเจ้าหน้าที่นำมากระตุกหัวใจ ซึ่งก่อนใช้งานต้องให้ทุกคนถอยหนีก่อน (ให้แน่ใจว่าไม่สัมผัสกับผู้ป่วย) จากนั้นเจ้าหน้าที่จึงนำส่งโรงพยาบาลต่อไป

จุดที่ต้องระวังในการทำ CPR

ในขั้นตอนการทำ CPR มีสิ่งที่ต้องระวังอย่างมากเพื่อป้องกันความเสี่ยงและให้การช่วยเหลือที่เหมาะสม ดังนี้

  1. ตำแหน่งการวางมือ: การวางมือในตำแหน่งที่ถูกต้องบนหน้าอกมีความสำคัญอย่างมาก เพราะการกดที่ผิดอาจสร้างความเสี่ยงให้เกิดบาดเจ็บบริเวณซึ่งอาจกระทบกระเทือนกับอวัยวะสำคัญภายในร่างกาย เช่น ม้ามหรือตับ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตได้
  2. จังหวะในการกด: จังหวะการกดในอัตราเร็วที่เหมาะสมมีความสำคัญ เพราะการกดที่ช้าเกินไปหรือช้ากว่า 100 ครั้งต่อนาที อาจทำให้อวัยวะภายในร่างกายไม่ได้รับการเติมออกซิเจนอย่างเพียงพอ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้
  3. ผู้ป่วยเด็กกับผู้ใหญ่การทำ CPR ต่างกัน: บางคนอาจจะลืมว่าการทำ CPR ให้ผู้ใหญ่ กับเด็กไม่เหมือนกันในส่วนของ ความลึกในการปั๊ม เด็กจะกดลึกที่ 2.4 นิ้ว ส่วนผู้ใหญ่ 2 นิ้ว และในการวางมือก็ต่างกันไป

ฝึกฝนทักษะ CPR

การฝึกฝนทักษะ CPR เรียนรู้จากอะไรได้บ้าง

  1. หนังสือเรียน: มีหนังสือเกี่ยวกับการทำ CPR ที่สามารถเรียนรู้ได้จากห้องสมุดหรือร้านหนังสือ
  2. วีดีโอออนไลน์และแหล่งข้อมูล: มีวีดีโอการสอน CPR ที่ออกมาบนเว็บไซต์ต่างๆ รวมถึงแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากองค์กรทางการแพทย์ ซึ่งสามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการเรียนรู้
  3. แอปพลิเคชันมือถือ: มีแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำ CPR ซึ่งบางแอปอาจมีฟีเจอร์ที่ช่วยในการฝึกฝนทักษะ CPR ได้
  4. คอร์สอบรม CPR จากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ: หลายๆ โรงพยาบาลหรือศูนย์การจัดการอบรม CPR อย่างเป็นทางการ โดยมักจะมีการสอนทั้งทฤษฎีและการฝึกซ้อมทักษะในการทำ CPR โดยมีนักเรียนฝึกซ้อมกับตัวอย่างหุ้มตุ๊กตาหรือตัวบุคคลจำลอง เพื่อฝึกการกดทรวงอกและการให้ลมหายใจให้ถูกต้อง ซึ่งตัวเลือกนี้เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดให้คุณมีความมั่นใจในการปฏิบัติจริงมากกว่าตัวเลือกอื่นๆ สามารถอ่านละเอียดคอร์สอบรมได้ที่ —> ศูนย์อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น

สรุป

การทำ CPR เป็นการกระทำที่สำคัญอย่างยิ่งในการช่วยชีวิตในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะมันช่วยให้เกิดการไหลเวียนของเลือดและออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาชีวิตของผู้ป่วยจนกว่าบริการการช่วยเหลือทางการแพทย์จะมาถึง

สำหรับใครที่ต้องการฝึกฝนทักษะ CPR สามารถเข้าร่วมคอร์สอบรมที่มีการสอนทักษะ CPR จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้ที่ อบรมปฐมพยาบาล การทำ CPR ให้ถูกต้องจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก และเป็นการกระทำที่มีผลสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉิน

สาระยอดนิยม

CPR ง่ายนิดเดียว logo

ศูนย์ฝึกอบรมการปฐมพยาบาล CPR ครบวงจร ตามหลักสากล

หลักสูตรอบรม

ช่องทางออนไลน์

Copyright @2024 – All Right Reserved. Designed and Developed by อบรมปฐมพยาบาล